การทำนาเกษตรอินทรีย์

การทำนาด้วยเกษตรอินทรีย์


การเลี้ยงดิน
      เลี้ยงดินโดนการสร้างอินทรีวัตถุให้กับดินเพื่อเพิ่มอินทรีวัตถุให้กับดินเพื่อให้ เป็นอาหารเลี่ยงพืชวิธีสร้างก็คือเอาปุ๋ยพืชสด(พืชตระกูลถั่วจะดีที่สุดจะมี คุณสมบัติในการสร้างไนโตรเจนให้กับดิน)ต่อไปก็เอาไปหว่านลงในแปลงนาของเรา ให้งอกขึ้นมาเจริญเติมโตจนกว่าจะออกดอก(ช่วงออกดอกจะเป็นช่วงที่สะสมธาตุ อาหารเต็มที่)เราก็จะตัดและไถกลบพอเสร็จเราก็เอาน้ำน้ำหมัก จุลินทรีย์ที่เราหมักเองไปฉีกรดราดในดินของเราและปล่อยน้ำลงไปเพื่อให้หมัก ปุ๋ยพืชสดให้เปื่อยเน่าซึมลงไปในดินหลังจากปรับปรุงดินดีแล้วพอถึงฤดูตกกล้า เมล็ดพันธุ์ข้าวเราก็จะเลือกด้วยตัวเอง
 


การไถดะ
เป็น การไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่นา การไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศรับออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะบางพื้นที่จะไถหลังฝนตกเมื่อดินเกิดความชุ่มชื่นหรือชิวิธีวิดน้ำ เจ้ามาแทนการจะปล่อยน้ำเข้ามาต้องดูสภาพดินด้วยควรปล่อยมากหรือน้อยการปล่อย น้ำเข้ามาเพื่อให้ไถได้ง่ายขึ้นหลังจากไถดะจะตากดินไว้ประมาณ 1-2สัปดาห์
การไถแปร
หลัง จากที่ตากดินไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบไว้เอาขึ้นมาอีกครั้งเพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้น ใหม่และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงจำนวนการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและ ปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ
 

วิธีการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อเพาะ
การคัดพันธุ์ข้าวจากรวง


1. เกี่ยวพันธุ์ข้าวที่ต้องการในแปลงนา โดยเลือกต้นที่ห่างจากพันธุ์อื่นๆ 1-2 เมตร ตามปริมาณที่ต้องการ
2.นำรวงข้าวที่เกี่ยวมาแล้วมาผึ่งแดด 2-3 แดด
3. หลังจากนั้นนำมาคัดเลือกรวงที่มีลักษณะรวงใหญ่ ยาว เมล็ดสมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยของโรคหรือแมลงรบกวน
4. นำรวงที่คัดเลือกแล้วมานวดรวมกัน ตากแดด 1-2 แดด แล้วจัดเก็บใส่ถุงเพื่อนำไปขยายพันธุ์ต่อไป

การคัดเมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำเกลือ
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะกล้า
  1.กะละมังหรือถัง 2 ใบ
2.มุ้งฟ้าทีมีขนาดใหญ่กว่ากะละมัง
3.พันธุ์ข้าวตามจำนวนที่ต้องการคัดพันธุ์
4.ไข่ดิบ
5.เกลือ
6.เหรียญ 5 บาท
7.น้ำเปล่า
8.เหยือกน้ำ
วิธีการทำ
วางมุ้งฟ้าลงในกะละมังที่เตรียมไว้
1.เทน้ำเปล่าลงในกะละมัง และวางไข่ดิบไปในน้ำ(ไข่จะจม)
   2.เอาเกลือใส่เหยือก เทน้ำลงไปในเหยือก คนให้เกลือละลายเป็นน้ำเกลือเข้มข้น
   3.ค่อยๆ เทน้ำเกลือใส่ในกะละมัง ไข่จะลอยขึ้นอยู่เหนือน้ำจนมีขนาดเท่าเหรียญ 5 บาท ซึ่งแสดงว่าน้ำมีความถ่วงจำเพาะที่ทำให้เมล็ดข้าวที่ไม่สมบูรณ์ลอยขึ้นมา ข้าวที่จมอยู่ทุกเมล็ดคือข้าวสมบูรณ์ เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดี
   4.หยิบไข่ดิบออกจากกะละมัง ตักเมล็ดข้าวที่ลอยขึ้นมาเหนือน้ำออก เนื่องจากเป็นเมล็ดข้าวที่ไม่สมบูรณ์
   5.ถ้าใช้น้ำธรรมดาคัดพันธุ์ข้าวแทนน้ำเกลือ ข้าวที่มีเนื้ออยู่ครึ่งหนึ่งหรือเมล็ดข้าวที่เป็นโรคยังจมอยู่ การคัดด้วยน้ำเกลือจำคัดเมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ออกทั้งหมด
   6.ยกมุ้งฟ้าที่มีเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ขึ้นจากกะละมังนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด 1 ครั้ง ก่อนนำไปเพาะกล้า
 


   เลือกชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมควรปลูกก่อนการปักดำข้าวในระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้ต้นปุ๋ยพืชสดมีช่วงการเจริญเติบโตเพียงพอที่จะผลิตมวลพืชสดได้มาก มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนสูงและไถกลบต้นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าวตามกำหนดเวลา เช่น โสนอัฟริกัน (Sesbaniarostrata) ควรปลูกก่อนปักดำประมาณ 70 วัน โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 7 กิโลกรัมต่อไร่ หากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วยเร่งการเจริญเติบโต แนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตบดละเอียดใส่ตอนเตรียมดินปลูก แล้วไถกลบต้นโสนขณะมีอายุประมาณ 50-55 วัน หรือก่อนการปักดำข้าวประมาณ 15 วัน
 -ปุ๋ยน้่ำหมัก
หรือน้ำสกัดชีวภาพ(Bio Extract) คือปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักเศษหญ้า ใบไม้ ฟางข้าว  ผลไม้ต่างๆขยะหรืออินทรียวัตถุต่างๆควรให้ทำใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา ในครัวเรือน นำมาหมักร่วมกับกากน้ำตาล(Mollass) หรือน้ำตาลทรายแดงละลายน้ำ
  

    กลไกการควบคุมโรคพืชในนาข้าวด้วยวิธีชีวภาพของเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์
เชื้อราไตรโคเดอร์มา




เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ของเชื้อราโรคพืช โดยเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะไปลดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเชื้อราโรคพืช เช่น ยับยั้งการเจริญเติบโต ยับยั้งการขยายพันธุ์ ด้วยกลไกสามประการ คือ
1. การทำลายโดยตรง โดยการกินเชื้อราโรคพืชเป็นอาหาร
2. การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย และสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
3. การสร้างสารปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อเชื้อโรคชนิดอื่น
นอกจากนี้ เชื้อราไตรโคเดอร์มายังมาช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคพืช กระตุ้นให้รากพืชเจริญเติบโตดีขึ้น ทำให้รากยาวและแข็งแรง และเมื่ออยู่ในดินจะสร้างสารที่ไปละลายธาตุอาหารในเม็ดหินและดินให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช


การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในนาข้าว

  เชื้อราบิวเวอร์เรียเป็นเชื้อราที่สามารถให้เกิดโรคได้กับแมลงได้หลายชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนศัตรูพืช  เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียที่ตกที่ผนังลำตัวแมลง เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมสปอร์จะงอกแทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปไชช่องว่างภายใน ลำตัวและเจริญเติบโตเป็นเส้นใยท่อนสั้นๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดในตัวของแมลง  ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด  หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายได้ตามธรรมชาติ  เฝ้าระวังแปลงนาของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง เพราะสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ  แต่เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีหรือเชื้อราไตรโคเดอร์มา กำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคข้าว  จะทำให้เชื้อราบิวเวอร์เรียถูกทำลายไปด้วย  เป็นการสร้างความสมดุลให้แก่ระบบนิเวศน์วิทยาในนาข้าวต่อไป



     เพื่อให้การทำนาสมบูรณ์แบบ ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของต้นข้าว และเพิ่มผลผลิต นวัต กรรมในการปลูกจะต้องมีการพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมตั้งแต่ขั้นตอนของการเพาะต้น กล้าของข้าวก่อนที่จะนำไปใช้ลงในแปลงปลูกที่เตรียมไว้เพื่อให้แน่ใจได้ว่า ต้นกล้าที่ได้มีเปอร์เซ็นของการเจริญเติบโตและ อัตราของการเจริญเติบที่ดี
       นวัตกรรมการเพาะต้นกล้าเป็นการคิดค้นวิธีในการที่จะทำอย่างไรให้ลดต้นทุน และ ต้นกล้าที่ได้จะต้องมีการเจริญเติบตี่ดีกว่า  คือ ก่อนที่เราจะทำการเพาะต้นกล้าถ้าแบบวิธีการดั้งเดิมคือการหวานข้าวลงบนแปลงเพาะเลย แต่ ก่อนี่เราจะหว่าน เราจะนำตาข่ายไนล่อน มาปูลงบนแปลงที่เราจะใช้ในการเพาะต้อนกล้า





แล้วจึงนำข้าวที่เตรียมมาหว่านลงบนพื้นที่นี้
สิ่งที่ได้จากการทำการเพาะต้นข้าวด้วยวิธีนี้ คือ
1.ลดการช้ำในการถอนต้นกล้าของชาวนาในปัจจุบัน คือ ถอนต้นกล้าแล้วยังต้องเอามากระแทกเอาโคลนออก  จากนั้นยังต้องตัดใบ ทำให้ต้นกล้าช้ำ
2.ลดต้นทุนในการจ้างคนที่จะใช้ในการถอนต้นกล้า
3.รากของต้นกล้าจากวิธีนี้ยาวกว่าแน่นอน
       ก่อนที่เราจะทำการเก็บพันธุ์กล้าก่อน  1 วัน เราจะใช้น้ำหมักที่หมักไว้ส่วนผสมก็จะมี กากน้ำตาล หมักกับพืชพืชผักผลไม้ต่าง ฉีดพ้นก่อนหนึ่งวันก่อนถอนต้นกล้า เพื่อเป็นการระเบิดดิน เพื่อเวลาที่เราถอนต้อนกล้ารากของต้นกล้าไม่ขาด
 

เมื่อเราได้ต้นกล้าที่ดีแล้วเราก็จะมั่นใจได้ว่าต้นข้าวที่เราจะทำการปลูกต้องมีอัตราการเจริญเติบที่ดี








วิธีการจัดการกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต
ดิน
    การจัดการดินเปรี้ยว จัดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว วิธีการที่สะดวก ปฎิบิติได้ง่ายและได้ผลรวดเร็วคือการใช้วัสดุปูนทางการเกษตรเช่น ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินฝุ่นปรับปรุงดิน โดยนำวัสดุปูนอัตราที่เหมาะสมไปหว่านให้ทั่วพื้นที่นา ไถคลุกเคล้ากับดิน หมักไว้อย่างน้อย7วัน ในสภาพดินชื้น ดินเปรี้ยวจัด จะมีสภาพดีขึ้น
ปริมาณน้ำ
   หากปริมาณน้ำที่เรารับมาจากระบบชลประทานไม่เพียงพอ หรือปริมาณฝนไม่ตกตามฤดูกาลนั้น เราก็ควรจัดทำบ่อน้ำไว้เพื่อกักเก็บน้ำในเวลาที่เกิดปัญหาเช่นนี้
แสงอาทิตย์
   ปริมาณแสงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตโดยที่พืชใช้ในกระบวนการ สังเคราะห์แสงถ้าเกิดบริเวณที่เราปลูกข้าวนั้นพบว่ามีหญ้ารกขึ้นเยอะเกินไป หรือมีต้นไม้บังต้นข้าวของเราก็ควรกำจัดทิ้งได้
ศัตรูพืช
1. ก่อนปลูกพืช
1.1) ในกรณีที่ปลูกพืชด้วยเมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากศัตรูพืช เช่น โรค แมลงและวัชพืช โดยกรรมวิธีดังนี้
แช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 - 55C นาน 10-30 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดพันธุ์เพื่อกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่ติด มากับเมล็ด )
คลุกเมล็ดด้วยเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอม่า, เชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis (Bs) ขึ้นอยู่กับชนิดเมล็ดพืชและเชื้อสาเหตุของโรค
ใช้พันธุ์ต้านทานโรค แมลงและ/หรือวัชพืช
1.2) การเตรียมแปลงเพาะกล้า
อบดินด้วยไอน้ำ
คลุกดินด้วยเชื้อราปฏิปักษ์ เพื่อควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคในระยะต้นกล้า
1.3) การเตรียมแปลงปลูก
ไถพรวนและตากดิน 1-2 สัปดาห์ ในเมล็ดวัชพืชงอกแล้วไถกลบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ใช้พลาสติกใสที่ไม่ย่อยสลายคลุมแปลง ปลูกเพื่อกำจัดศัตรูพืชในดินโดยใช้แสงแดด
ใช้ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาวที่ได้จากธรรมชาติเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
ใช้น้ำขังท่วมแปลงเพื่อควบคุมโรคและแมลงที่อาศัยอยู่ในดิน
ตากดินให้แห้งเพื่อกำจัดแมลงในดิน
ใส่เชื้อราปฏิปักษ์ เช่น ไตรโคเดอร์มา ลงในดินสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อราบางชนิด
2. ระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโต
2.1 การควบคุมโรค เมื่อมีการระบาดของโรคให้ปฏิบัติดังนี้
โรยเชื้อราปฏิปักษ์รอบโคนต้น
เก็บชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูกและนำไปเผาทำลาย
ใช้เชื้อแบคทีเรีย Bsพ่นหรือทาแผลที่ต้นพืช

2.3 การควบคุมวัชพืช
ควรกำจัดวัชพืชในระยะก่อนออกดอกหรือติดเมล็ด เพื่อลดปริมาณเมล็ดวัชพืชที่สะสมในดินฤดูต่อไป
ใช้วิธีทางกายภาพ เช่น การถอน การขุด การตัด ฯลฯ
ใช้น้ำร้อน/ไอน้ำร้อน
ปลูกพืชตระกุลถั่วคลุมดิน
คลุมดินด้วยพลาสติกทึบแสงที่ไม่ย่อยสลาย
ใช้สารสกัดจากพืช
ใช้ชีววิธี เช่น แมลง สัตว์ หรือ จุลินทรีย์

วิธีการเก็บเกี่ยวข้าว
วิธีเก็บเกี่ยวข้าว
ในช่วงของการเกี่ยวข้าวเป็นอีกช่วงหนึ่งที่มีความต้องการใช้แรงงานจำนวน มาก ชาวไร่ชาวนามีวิธีระดมแรงงานในกลุ่มเครือญาติหรือเพื่อนบ้านมาช่วยทำงาน เรียกว่า เอามื้อเอาวันหรือ เอามื้อเอาแฮง
การใช้เคียวเกี่ยวข้าว
วิธีเกี่ยวข้าวโดยใช้เคียว ชาวไร่ชาวนาจะถือเคียวด้วยมือข้างที่ถนัด แล้วใช้เคียวเกี่ยวกระหวัดกอข้าวทีละกอ ในขณะเดียวกันก็ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับกอข้าวนั้น และออกแรงดึงเคียวให้คมเคียวตัดลำต้นข้าวให้ขาดออกมา โดยทั่วไปจะเกี่ยวให้มีความยาวของต้นข้าวห่างจากรวงข้าว ให้พอเหมาะที่จะนำไปฟาดข้าวได้สะดวก หรือให้มีความยาวของต้นข้าวพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไปได้ เช่น ใช้คลุมแปลงปลูกหอม กระเทียม ฯลฯเมื่อเกี่ยวข้าวได้เต็มกำมือแล้ว บางคนจะมัดข้าวเป็นมัดๆ ก่อนวางตากแดด แต่บางคนก็วางตากเลยโดยไม่มัด






2 ความคิดเห็น:

  1. https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fyoutu.be%2F50s-9KFhWVA&h=ATPjWAdYgHUIv3zjKajey7HWUWZpVrN5UnesNjYp8vfY95RnapOzrVOruMuzkCTpBf6wDCncQEA6g5jvURtDVt51-mx1dR9vhaeu46bqI_PxLkKDpaT6O0NpFHWWuA6A187c&s=1

    ตอบลบ
  2. ทำนาอินทรีย์ครับ
    https://www.youtube.com/watch?v=obZ19MMkB3I

    ตอบลบ