ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์
(Organic
Fertilizer) คือ
ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ
และจะเป็นประโยชน์ต่อพืชก็ต้องผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพเสียก่อน
มีวัตถุหลายประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้
ข้อดี ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์ มีดังนี้
1
ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
-
ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น
ความโปร่งความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ
และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
-
อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ
จึงมีโอกาสสูญเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี
-
เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี
จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพมีธาตุอาหารรอง / เสริม
อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช
-
ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2
ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
-
มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
-
ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
-
ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
-
หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก
-
ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป
เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรทในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตราย
แก่ผู้บริโภคได้
-
การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน
ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น
จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน
ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล
ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย
มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้
อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย
เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป
และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว
หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝนระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ
จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้
-
มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค
แมลงศัตรูพืชและวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดภายหลังได้
-
ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย
ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูงเมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย
มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว
ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจกรรมลดลง
จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน
-
ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน
ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก
-
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก
ตามอาคารบ้านเรือนก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว
ปรอท
-
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อนจากการย่อยสลาย
เป็นอันตรายต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช
และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง
จะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ
-
ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการใส่มากกว่า
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ
แต่เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ธรรมชาติแทบทุกชนิดมีความเข้มข้นของธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ
จึงต้องใช้ในปริมาณที่สูงมาก
และอาจมีไม่พอเพียงสำหรับการปลูกข้าวอินทรีย์และถ้าหากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสมก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต
จึงแนะนำให้ใช้หลักการธรรมชาติที่ว่า “สร้างให้เกิดขึ้นในพื้นที่
ใส่ทีละเล็กทีละน้อยสม่ำเสมอเป็นประจำ” ปุ๋ยอินทรีย์จากธรรมชาติที่ควรใช้
ได้แก่ ทำปุ๋ยหมัก
-ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยมูลสัตว์
ได้แก่มูลสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งอาจนำมาจากภายนอก
หรือจัดการผลิตขึ้นในบริเวณไร่นา
นอกจากนี้ท้องนาในชนบทหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วมักจะปล่อยให้เป็นที่เลี้ยงสัตว์โดยให้แทะเล็มตอซังและหญ้าต่าง
ๆ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาปะปนกับเศษซากพืช เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในนาอีกทางหนึ่ง
-ปุ๋ยหมักแห้ง
คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักเศษหญ้า ใบไม้ ฟางข้าว
ขยะหรืออินทรียวัตถุให้เน่าเปื่อยจนสลายตัวเกษตรกรสามารถทำได้เองโดยกองเศษพืชหรือวัสดุอินทรีย์ต่างๆ จัดทำในพื้นที่นาหรือบริเวณที่อยู่ไม่ห่างจากแปลงนามากนักเพื่อความสะดวกในการใช้
ควรใช้เชื้อจุลินทรีย์ในการทำปุ๋ยหมักเพื่อช่วยการย่อยสลายได้เร็วขึ้น
และเก็บรักษาให้ถูกต้องเพื่อลดการสูญเสียธาตุอาหาร
-ปุ๋ยพืชสด
เลือกชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมควรปลูกก่อนการปักดำข้าวในระยะเวลาพอสมควร
เพื่อให้ต้นปุ๋ยพืชสดมีช่วงการเจริญเติบโตเพียงพอที่จะผลิตมวลพืชสดได้มาก
มีความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนสูงและไถกลบต้นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าวตามกำหนดเวลา
เช่น โสนอัฟริกัน (Sesbaniarostrata) ควรปลูกก่อนปักดำประมาณ
70 วัน โดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ประมาณ 7
กิโลกรัมต่อไร่ หากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยฟอสฟอรัสช่วยเร่งการเจริญเติบโต
แนะนำให้ใช้หินฟอสเฟตบดละเอียดใส่ตอนเตรียมดินปลูก แล้วไถกลบต้นโสนขณะมีอายุประมาณ
50-55 วัน หรือก่อนการปักดำข้าวประมาณ 15 วัน
หมายเหตุ: แนะนำให้ใช้
ปอเทืองปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าวไถกลบโสน
-ปุ๋ยน้่ำหมัก
หรือน้ำสกัดชีวภาพ(Bio Extract) คือปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักเศษหญ้า ใบไม้
ฟางข้าว
ผลไม้ต่างๆขยะหรืออินทรียวัตถุต่างๆควรให้ทำใช้เองจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
ในครัวเรือน นำมาหมักร่วมกับกากน้ำตาล(Mollass) หรือน้ำตาลทรายแดงละลายน้ำ
กลไกการควบคุมโรคพืชในนาข้าวด้วยวิธีชีวภาพของเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์
เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ของเชื้อราโรคพืช
โดยเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะไปลดกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเชื้อราโรคพืช เช่น
ยับยั้งการเจริญเติบโต ยับยั้งการขยายพันธุ์ ด้วยกลไกสามประการ คือ
1. การทำลายโดยตรง
โดยการกินเชื้อราโรคพืชเป็นอาหาร
2. การแก่งแย่งที่อยู่อาศัย
และสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต
3. การสร้างสารปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อเชื้อโรคชนิดอื่น
นอกจากนี้
เชื้อราไตรโคเดอร์มายังมาช่วยกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคพืช
กระตุ้นให้รากพืชเจริญเติบโตดีขึ้น ทำให้รากยาวและแข็งแรง
และเมื่ออยู่ในดินจะสร้างสารที่ไปละลายธาตุอาหารในเม็ดหินและดินให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืช
เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในดินทั่วไป มีหลายชนิด หลายสายพันธุ์
ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาและคัดเลือกสายพันธุ์
เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคพืช
โดยมุ่งเน้นไปที่เชื้อราโรคพืชที่เกิดจากดิน
พบว่าสามารถควบคุมเชื้อราโรคพืชได้ดีหลายชนิด
ซึ่งเชื้อราเหล่านี้เป็นสาเหตุของโรคพืชต่างๆ ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคผลเน่า
โรคกล้าเน่าหรือกล้ายุบ โรคเน่าระดับดิน โรคเหี่ยวในพืชตระกูลพริก โรคถอดฝักดาบของข้าว
เป็นต้น ปัจจุบันพบว่า นอกจากจะเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อราโรคพืชที่อยู่ในดินแล้ว
ยังสามารถใช้ในการป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชในส่วนต่างๆของพืชที่อยู่เหนือดินได้ดีเช่นกัน
เช่น โรคไหม้ในข้าว โรคแอนแทรกโนสในพริก เป็นต้น
และมีแนวโน้มที่จะมีผลไปกระตุ้นให้พืชมีความต้านทานต่อเชื้อไวรัสโรคพืชได้อีกด้วย
จึงนับว่าเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเกษตร
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มามาควบคุมโรคพืช
การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควรใช้ในช่วงเวลาที่แดดอ่อน
เหมือนกับชีวภัณฑ์ชนิดอื่นๆ สามารถนำมาใช้ทั้งในด้านป้องกันและรักษาโรค
โดยมีวิธีการใช้ 3 วิธี
1. ใช้คลุกเมล็ดพืช
หรือส่วนขยายพันธุ์ของพืชที่จะนำไปปลูก เช่น หัว แง่ง เหง้า กลีบ ฯลฯ
โดยใช้เชื้อราไตรโตเดอร์มาชนิดเชื้อสดที่เจริญอยู่บนเมล็ดข้าวฟ่าง
หรือข้าวเปลือกในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ
ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
2. ใส่เชื้อลงในดิน
โดยการผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มา กับรำละเอียด และปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายแล้วในอัตรา
เชื้อสด 1 กก. (2 ถุง) รำ 5 กก. และปุ๋ยหมัก 50 กก.
นำเชื้อคลุกเคล้ากับรำให้เข้ากันดีก่อน แล้วจึงผสมกับปุ๋ยหมัก
หากปุ๋ยหมักแห้งเกินไปให้พรมน้ำให้มีความชื้นพอประมาณ
หลังจากผสมแล้วใช้ให้หมดภายใน 1 วัน
สามารถใช้ได้กับพืชทุกระยะการเจริญเติบโต ดังนี้
- ใช้ผสมดินเพาะกล้า
อัตรา ส่วนผสม 1 ส่วน/ดินเพาะกล้า 4
ส่วน
- ใช้หว่านลงในแปลงก่อนหรือหลังปลูก
(พืชไร่ พืชผัก) ใช้ส่วนผสม 200 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
- ใช้รองก้นหลุม (ไม้ผล
หรือพืชที่ปลูกเป็นหลุม) ใช้ส่วนผสม 300 – 500 กรัมต่อหลุม
- หว่านรอบโคนต้นและภายในทรงพุ่ม (ไม้ผล) 300 – 500 กรัมต่อตารางเมตร หรือ นับอายุไม้ผล คือ อายุ 1 – 5
ปี ใช้ 1 – 5 กก./ต้น อายุเกิน 5 ปี
ใช้ 5 กก./ต้น
หลังจากหว่านแล้วใช้วัสดุคลุมดิน
(เช่น ฟางข้าว) หากไม่มีให้คราดหรือเกลี่ยดินกลบบางๆ เพื่อป้องกันแสงแดด
หลังจากนั้นรดน้ำให้พอชุ่ม
3.วิธีผสมน้ำ
ได้แก่การนำเชื้อสดไปยีในน้ำเพื่อให้สปอร์ของเชื้อราหลุดจากเมล็ดลงไปใน ในน้ำ
กรองเอาเมล็ดออก แล้วนำน้ำที่ได้ไปใช้ อัตราการใช้ เชื้อสด 1
กก. (2 ถุง)
ต่อน้ำ 100 – 200 ลิตร
นำน้ำที่ได้จากการยีล้างสปอร์ไปใช้ดังนี้
- ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช
เพื่อป้องกันกำจัดโรคพืช (ที่เกิดจากเชื้อรา) ที่อยู่บนใบ ต้น กิ่ง หรือผล
- ใส่บัวรดน้ำรดไปที่ดิน
ใช้กับโรครากเน่าโคนเน่า
- ปล่อยไปกับระบบน้ำหยด
หรือสปริงเกอร์
การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในนาข้าว
เชื้อราบิวเวอร์เรียเป็นเชื้อราที่สามารถให้เกิดโรคได้กับแมลงได้หลายชนิด
โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนศัตรูพืช
เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียที่ตกที่ผนังลำตัวแมลง เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมสปอร์จะงอกแทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปไชช่องว่างภายในลำตัวและเจริญเติบโตเป็นเส้นใยท่อนสั้นๆ
ทำลายเซลล์เม็ดเลือดในตัวของแมลง
ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด
หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายได้ตามธรรมชาติ เฝ้าระวังแปลงนาของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง
เพราะสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ
แต่เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีหรือเชื้อราไตรโคเดอร์มา
กำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคข้าว
จะทำให้เชื้อราบิวเวอร์เรียถูกทำลายไปด้วย
เป็นการสร้างความสมดุลให้แก่ระบบนิเวศน์วิทยาในนาข้าวต่อไป
วิธีใช้
1.การนำไปใช้สำหรับฉีดพ่น นำเชื้อราบิวเวอร์เรีย1-2 กก./น้ำ 20 ลิตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยนำน้ำ 5 ลิตร ใส่ถุงมือขยำก้อนเชื้อกับน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดแล้วกรองด้วยผ้าบางๆ แล้วจึงนำไปผสมกับน้ำอีก 15 ลิตร ผสมกับสารจับใบ(ตามฉลาก) คนให้เข้ากัน นำไปฉีดพ้นในช่วงเช้าตรู่หรือเย็นแดดอ่อน(ช่วงเย็นดีที่สุดเมื่อพ่นไปแล้วเชื้อรามีช่วงเวลาฟื้นตัวนานก่อนที่จะพบกับอากาศร้อนช่วงกลางวันวันถัดไป) ควรปรับหัวฉีดให้พ่นเป็นฝอยละเอียดจะทำให้ได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น และควรติดตาตรวจสอบเมื่อฉีดพ่นได้ 2-3 วัน ข้อควรระวังในการใช้คือ สวมถุงมือ ปิดปาก ปิดจมูก เหมือนกับใช้สารเคมีทั่วไป ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด และควรล้างเครื่องฉีดพ้นที่เคยพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้สะอาด และเชื้อราบิวเวอร์เรียจะอยู่ได้นานจนถึงระยะเก็บเกี่ยวเมื่อใช้กับข้าวที่อายุ 40-50 วัน เพราะจะมีใบข้าวที่ปกคลุมป้องกันแสงแดดส่อง อีกทั้งสภาพแวดล้อมในควรมีความชื้นทีเหมาะสม (80%)
วิธีใช้
1.การนำไปใช้สำหรับฉีดพ่น นำเชื้อราบิวเวอร์เรีย1-2 กก./น้ำ 20 ลิตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยนำน้ำ 5 ลิตร ใส่ถุงมือขยำก้อนเชื้อกับน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดแล้วกรองด้วยผ้าบางๆ แล้วจึงนำไปผสมกับน้ำอีก 15 ลิตร ผสมกับสารจับใบ(ตามฉลาก) คนให้เข้ากัน นำไปฉีดพ้นในช่วงเช้าตรู่หรือเย็นแดดอ่อน(ช่วงเย็นดีที่สุดเมื่อพ่นไปแล้วเชื้อรามีช่วงเวลาฟื้นตัวนานก่อนที่จะพบกับอากาศร้อนช่วงกลางวันวันถัดไป) ควรปรับหัวฉีดให้พ่นเป็นฝอยละเอียดจะทำให้ได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น และควรติดตาตรวจสอบเมื่อฉีดพ่นได้ 2-3 วัน ข้อควรระวังในการใช้คือ สวมถุงมือ ปิดปาก ปิดจมูก เหมือนกับใช้สารเคมีทั่วไป ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด และควรล้างเครื่องฉีดพ้นที่เคยพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้สะอาด และเชื้อราบิวเวอร์เรียจะอยู่ได้นานจนถึงระยะเก็บเกี่ยวเมื่อใช้กับข้าวที่อายุ 40-50 วัน เพราะจะมีใบข้าวที่ปกคลุมป้องกันแสงแดดส่อง อีกทั้งสภาพแวดล้อมในควรมีความชื้นทีเหมาะสม (80%)
2. ใส่เชื้อราบิวเวอร์เรียในกระบอก การทำไผ่สำหรับใส่เชื้อราบิวเวอร์เรีย
นำกระบอกที่ทำไว้ปักหลักตั้งกระบอกที่อาจทำจากท่อพลาสติก PVC หรือกระบอกไม้ไผ่ห่างกันประมาณ
10-20 เมตรกระจายทั่วแปลงนา
สำหรับการใช้กระบอกไม้ไผ่เกษตรกรจะตัดเหนือข้อ 1 ด้านส่วนอีกด้านตัดเลยข้อประมาณ
1.5 นิ้ว
ก่อนที่จะตัดเหนือข้อต่อกระบอกตัดเหนือข้อลึกลงไปครึ่งกระบอก
ก่อนผ่านำส่วนที่ไม่ต้องการออกจะเหลือข้อเพื่อกันก้อนเชื้อราบิวเวอร์เรียปลิวกระเด็น
เมื่อตัดและทำกระบอกได้ทรงตรงตามที่ต้องการแล้วนำเชือกมาผูกและนำใบตาลตอกติดกระบอกที่เตรียมไว้
ทำเป็นหางเสือ เมื่อนำกระบอกปักหรือแขวนติดกับเสาจะหมุนหันปากกระบอกรับลม
เพื่อพัดพาสปอร์ล่องลอยไปตกลงในแปลงนาหรือเปื้อนติดตัวแมลงศัตรูพืช และทำลายจนตายก่อนที่จะขยายพันธุ์โดยอาศัยตัวแมลงพร้อมกับขยายเจริญเติบโตในแปลงนาเหมือนกับว่ามียามหรือหน่วยป้องกันในนาของเกษตรกร
นำกระบอกไม้ไผ่ที่เสียบฐานเรียบร้อยแล้วไปปักในนาข้าว 1 ไร่ใช้ 4 กระบอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น