วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อข้าว



ปัจจัยและผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ดิน
ข้าวขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดยกเว้นดินทรายส่วนใหญ่ชอบขึ้นในดินเหนียว และเหนียวปนร่วน มีความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 3-10 ขึ้นได้แม้กระทั่งในดิน
ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

ปริมาณน้ำ
ข้าวมีความต้องการน้ำตั้งแต่ 875มิลลิเมตร (ข้าวไร่) จนถึง 2,000 มิลลิเมตร (ข้าวนาสวน) ต่อปี แต่ควรมีการกระจายฝนที่ดีในพื้นที่ที่ไม่ได้รับน้ำชลประทานหรือที่เรียกว่านาน้ำฝน ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกข้าวได้ในนาปีเท่านั้น และการตอบสนองต่อความต้องการน้ำยังขึ้นอยู่กับพันธุ์ และช่วงของการเจริญเติบโตในช่วงเตรียมดินควรมีน้ำประมาณ 150 - 200 มิลลิเมตร ช่วงที่เป็นต้นกล้าต้องการน้ำประมาณ 250 - 400 มิลลิเมตรจนถึงต้นกล้าอายุ30-40 วัน ส่วนในช่วงปักดาจนกระทั่งเก็บเกี่ยวนั้นควรมีน้าอยู่ในช่วง 800 - 1,200 มิลลิเมตร
แสงอาทิตย์
ปริมาณแสงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตโดยที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง และช่วงเวลาสั้นยาวของกลางวันกลางคืนยังมีผลต่อการเจริญทางการสืบพันธุ์ของข้าวไวแสง ความเข้มของแสงในฤดูฝนซึ่งมีเมฆหมอกมากนั้นจะน้อยกว่าความเข้มแสงในฤดูร้อน ผลผลิตข้าวส่วนใหญ่จึงน้อยกว่าเมื่อปลูกในฤดูฝน แสงแดดมีความจาเป็นมากในช่วงเริ่มสร้างดอกจนกระทั่ง10 วันก่อนเมล็ดแก่

อุณหภูมิ
 ได้มีการศึกษาพบว่าอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของข้าวและการให้ผลผลิต พบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมจะอยู่ในระหว่าง 25-33 องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไป (ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส) จะมีผลต่อการงอกของเมล็ด การยืดของใบ การแตกกอ การสร้างดอกอ่อน การผสมเกสร เป็นต้น เช่น พบว่าอุณหภูมิที่สูงเกินไปและต่ำเกินไปช่วงที่มีการออกดอกจะทาให้ดอกข้าวเป็นหมัน ซึ่งจะส่งผลทำให้ได้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ เป็นต้น

ความชื้นสัมพัทธ์
อิทธิพลของความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศต่อการเจริญเติบโตของข้าวนั้นมักจะไม่ชัดเจน เพราะจะมีปริมาณความเข้มแสงและอุณหภูมิในเชิงที่กลับกันคือเมื่อความเข้มของแสงมากและอุณหภูมิสูงมักทาให้ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำอุณหภูมิเย็นในเวลากลางคืนทาให้เกิดน้าค้างสูง จะมีผลต่อการพัฒนาของเชื้อโรคของข้าวบางชนิด เช่น โรคใบไหม้ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น เป็นต้น

ลม
ลมอ่อนที่พัดถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา จะช่วยให้มีการถ่ายเทก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ดี ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้มากยิ่งขึ้น แต่ถ้าลมแรงจะมีผลโดยตรงทาให้ต้นข้าวหักล้ม เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตได้ ส่วนฤดูเพาะปลูก สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ควรหลีกเลี่ยงช่วงการปลูกที่ต้นข้าวจะออกดอกในช่วงอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 33 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงการปลูกที่ต้องเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฝนชุก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องวางแผนการปลูกที่เหมาะสม

ศัตรูพืช
ศัตรูพืชนั้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
แมลงศัตรูที่พบในแปลงนา ระยะแตกกอ : หนอนกอข้าว. หนอนห่อใบข้าว. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. หนอนปลอกข้าว. แมลงบั่ว. แมลงดำหนาม. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว. ด้วงดำ. แมลงหล่า.
หนอนกอทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็กจนถึงระยะข้าวออกรวง ในประเทศไทยมีรายงานพบ 4 ชนิด คือ หนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลาย หนอนกอแถบลายสีม่วง และหนอนกอสีชมพู
ลักษณะการทำลายและการระบาด :
หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิด ทำลายข้าวลักษณะเดียวกันโดยหลังหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลือง
หรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบ
เหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ ยอดเหี่ยว(deadheart) ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการ นี้ว่าข้าวหัวหงอก” (whitehead)ลักษณะการทำลาย ของหนอนกอในข้าว ระยะแตกกอทำให้ยอดเหี่ยว ระยะออกรวงทำให้รวงข้าวสีขาวเมล็ดลีบหนอนกอข้าวเป็นแมลงศัตรูข้าวที่พบเป็นประจำในนาข้าว แต่มักจะไม่ทำความเสียหายข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่ารุนแรง เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล พบปริมาณมากในฤดูนาปรัง การทำลายจึงสูงกว่าฤดูนาปี ผีเสื้อหนอนกอข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าสู่แปลงนาเมื่อ ข้าวอายุระหว่าง 30-50 วัน การระบาดมากน้อยขึ้นกับสภาพแวดล้อมและฤดูการทำนาของสถานที่นั้นๆ สามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก

ตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น