วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การจัดการกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อนาข้าว



วิธีการจัดการกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต

ดิน

    การจัดการดินเปรี้ยว จัดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว วิธีการที่สะดวก ปฎิบิติได้ง่ายและได้ผลรวดเร็วคือการใช้วัสดุปูนทางการเกษตรเช่น ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินฝุ่นปรับปรุงดิน โดยนำวัสดุปูนอัตราที่เหมาะสมไปหว่านให้ทั่วพื้นที่นา ไถคลุกเคล้ากับดิน หมักไว้อย่างน้อย7วัน ในสภาพดินชื้น ดินเปรี้ยวจัด จะมีสภาพดีขึ้น ความเป็นกรดจะลดลง (ความเป็นกรด เป็นด่าง ของดินสูง อยู่ในช่วง 5.5-5.6)ปริมาณปูนที่เหมาะสมและแนะนำให้ใช้ สำหรับนาข้าว แบ่งเป็น3ระดับ คือ

-ดินเปรี้ยวกรดที่เป็นกรดรุนแรงน้อย(PH 4.5-5.0)ใส่ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินฝุ่น อัตรา500กิโลกรัมต่อไร่

-ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงปานกลาง(PH4.0-4.5)ใส่ปูนมาร์ล หินปูนบดหรือหินฝุ่นอัตรา1,000กิโลกรัมต่อไร่

-ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงมาก(PHต่ำกว่า4.0)ใส่ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินฝุ่น อัตรา1,000-1,500กิโลกรัมต่อไร่



ปริมาณน้ำ

   หากปริมาณน้ำที่เรารับมาจากระบบชลประทานไม่เพียงพอ หรือปริมาณฝนไม่ตกตามฤดูกาลนั้น เราก็ควรจัดทำบ่อน้ำไว้เพื่อกักเก็บน้ำในเวลาที่เกิดปัญหาเช่นนี้



แสงอาทิตย์

   ปริมาณแสงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตโดยที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงถ้าเกิดบริเวณที่เราปลูกข้าวนั้นพบว่ามีหญ้ารกขึ้นเยอะเกินไปหรือมีต้นไม้บังต้นข้าวของเราก็ควรกำจัดทิ้งได้


ศัตรูพืช
1. ก่อนปลูกพืช

1.1 ในกรณีที่ปลูกพืชด้วยเมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากศัตรูพืช เช่น โรค แมลงและวัชพืช โดยกรรมวิธีดังนี้

-  แช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 - 55C นาน 10-30 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดพันธุ์เพื่อกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่ติด มากับเมล็ด

-  คลุกเมล็ดด้วยเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอม่า, เชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis (Bs) ขึ้นอยู่กับชนิดเมล็ดพืชและเชื้อสาเหตุของโรค

-  ใช้พันธุ์ต้านทานโรค แมลงและ/หรือวัชพืช

1.2 การเตรียมแปลงเพาะกล้า

-  อบดินด้วยไอน้ำ

-  คลุกดินด้วยเชื้อราปฏิปักษ์ เพื่อควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคในระยะต้นกล้า

1.3 การเตรียมแปลงปลูก

-  ไถพรวนและตากดิน 1-2 สัปดาห์ ในเมล็ดวัชพืชงอกแล้วไถกลบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

-  ใช้พลาสติกใสที่ไม่ย่อยสลายคลุมแปลง ปลูกเพื่อกำจัดศัตรูพืชในดินโดยใช้แสงแดด

-  ใช้ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาวที่ได้จากธรรมชาติเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

-  ใช้น้ำขังท่วมแปลงเพื่อควบคุมโรคและแมลงที่อาศัยอยู่ในดิน

-  ตากดินให้แห้งเพื่อกำจัดแมลงในดิน

-  ใส่เชื้อราปฏิปักษ์ เช่น ไตรโคเดอม่า ลงในดินสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อราบางชนิด



2. ระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโต

2.1 การควบคุมโรค เมื่อมีการระบาดของโรคให้ปฏิบัติดังนี้

-  โรยเชื้อราปฏิปักษ์รอบโคนต้น

-  เก็บชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูกและนำไปเผาทำลาย

-  ใช้เชื้อแบคทีเรีย Bsพ่นหรือทาแผลที่ต้นพืช

สารที่อนุญาตให้ใช้ควบคุมโรค ได้แก่

-  กำมะถัน

-  บอร์โดมิกซเจอร์

-  พืชสมุนไพรและสารสกัดจากสมุนไพร

-  คอปเปอร์ซัลเฟต

-  คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์

-  คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ง

2.2 การควบคุมแมลง

- สำรวจแมลงและศัตรูพืชอื่น ๆ ในแปลงปลูก

- หากพบแมลงศัตรูพืชให้ปฏิบัติดังนี้

*กรณีแมลงศัตรูพืชมีจำนวนน้อย ให้ใช้วิธีการควบคุมทางชีวภาพ ได้แก่

-  พืชหรือสารสกัดจากพืชสมุนพี เช่น ดาวเรือง ว่านน้ำ พริก สาบเสือ ฯลฯ

-  สารโรตีโนนจากหางไหลแดง

-  สารสกัดจากสะเดา

-  สารไพเรทรินจากธรรมชาติ

-  ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น

-  เชื้อไวรัสNPV

-  เชื้อแบคทีเรีย Bt

-  เชื้อรา เช่น เชื้อราเมตาไลเซี่ยม

-  ใช้ตัวห้ำตัวเบียน

-  ใช้น้ำสบู่ หรือ น้ำ

-  ใช้สารทำหมันแมลง

-  ใช้กับดักกาวเหนียว กรณีแมลงศัตรูพืชระบาด

-  ใช้กับดักกาวเหนียว/กับดักแสงไฟ เพื่อลดปริมาณแมลง

-  ใช้ white oil/ mineral oil ที่ได้จากธรรมชาติ

2.3 การควบคุมวัชพืช

-  ควรกำจัดวัชพืชในระยะก่อนออกดอกหรือติดเมล็ด เพื่อลดปริมาณเมล็ดวัชพืชที่สะสมในดินฤดูต่อไป

-  ใช้วิธีทางกายภาพ เช่น การถอน การขุด การตัด ฯลฯ

-  ใช้น้ำร้อน/ไอน้ำร้อน

-  ปลูกพืชตระกุลถั่วคลุมดิน

-  คลุมดินด้วยพลาสติกทึบแสงที่ไม่ย่อยสลาย

-  ใช้สารสกัดจากพืช

-  ใช้ชีววิธี เช่น แมลง สัตว์ หรือ จุลินทรีย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น