พันธุ์ข้าว เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรก
ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ถ้าหากว่ามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ
ทั้งข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพปานกลาง ข้าวคุณภาพต่ำ และข้าวคุณภาพพิเศษ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดและเพื่อทำผลิตภัณฑ์มีความต้านทานต่อโรคแมลง
และมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นแล้วจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน การผลิตข้าวหรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี
ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง (Photosensitive
lowland rice) ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน
50 เซนติเมตร ปลูกได้ทั้งวิธีปักดำหรือหว่าน มี 2 ประเภทคือ ข้าวนาสวนนาน้ำฝน
และข้าวนาสวนนาชลประทาน
เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น
เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ
มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด
พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง
ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน
จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น กข12 กข13 กข15 กข16 ขาวดอกมะลิ105
ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง (Non-photosensitive
lowland rice)
ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50
เซนติเมตร ปลูกได้ทั้งวิธีปักดำหรือหว่าน มี 2 ประเภทคือ
ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน เป็น
พันธุ์ข้าวที่ช่วงแสงไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างช่อดอก
ข้าวชนิดนี้จะออกดอกตามอายุของแต่ละพันธุ์ค่อนข้างแน่นอน
ไม่ว่าจะปลูกในช่วงวันยาวหรือวันสี้นก็ตาม
อายุข้าวอาจแตกต่างกันไปบ้างตามวิธีการจัดการในนาข้าว เช่น
การให้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูงจะทำให้อายุข้าวยาวขึ้นได้ เช่น กข1กข10 กข11 ชัยนาท1
ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง (Photosensitive
floating rice) ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขัง มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน
ปลูกโดยการหว่านเมล็ดลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ
มีความสามารถในการยืดปล้องให้ยาวออกไปเพื่อหนีน้ำท่วม (Internode
Elongation Ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน (Upper
Nodal Tillering and Rooting Ability) ความสามารถอยู่รอดในสภาพจมน้ำ
(Submergence Tolerance Ability) และการชูรวงให้ตั้งชันเหนือผิวน้ำ
(Kneeing Ability) ได้ ดีตามการเพิ่มของระดับน้ำในนา
เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น
เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ
มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด
พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง
ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน
จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น ขาวบ้านนา432
ข้าวนาน้ำลึกไวต่อช่วงแสง (Photosensitive
deep-water rice)
ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร
และน้ำท่วมขังในแปลงนาอย่างน้อย 1 เดือน
ลักษณะประจำพันธุ์ที่สำคัญของข้าวชนิดนี้คือ
ความสามารถทนน้ำท่วมหรือจมอยู่ใต้น้ำได้อย่างน้อย 7-10 วัน
หลังจากน้ำลดแล้วสามารถฟื้นตัวได้ดี พัฒนาการเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยวได้ตามปกติ
เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น
เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ
มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด
พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง
ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน
จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน
เช่น
กข45
ข้าวนาน้ำลึกไม่ไวต่อช่วงแสง (Non-photosensitive
deep-water rice)
ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร
และน้ำท่วมขังในแปลงนาอย่างน้อย 1 เดือน
ลักษณะประจำพันธุ์ที่สำคัญของข้าวชนิดนี้คือ
ความสามารถทนน้ำท่วมหรือจมอยู่ใต้น้ำได้อย่างน้อย 7-10 วัน
หลังจากน้ำลดแล้วสามารถฟื้นตัวได้ดี
พัฒนาการเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยวได้ตามปกติ เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น
เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ
มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด
พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง
ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน
จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น กข17
ข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง (Photosensitive
upland rice) ข้าว ที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่
บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ
ปลูกโดยวิธีหยอดเมล็ด โดยอาศันน้ำฝน และน้ำค้างเป็นหลัก มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น
แตกกอน้อย ระบบรากลึกและขนาดรากใหญ่
เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น
เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ
มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด
พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง
ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน
จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น กู้เมืองหลวง
ข้าวไร่ไม่ไวต่อช่วงแสง (Non-photosensitive
upland rice)
ข้าว ที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่
บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ
ปลูกโดยวิธีหยอดเมล็ด โดยอาศันน้ำฝน และน้ำค้างเป็นหลัก มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น
แตกกอน้อย ระบบรากลึกและขนาดรากใหญ่
เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น
เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ
มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า
12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน
จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น อาร์ 258
|
ข้าวแดงไวต่อช่วงแสง (Photosensitive red
rice) คือ ข้าวกล้องพันธุ์ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง สีน้ำตาลแดง หรือสีแดงออกดำ เมื่อเอาเปลือกออก
เช่น ข้าวมันปูในภาคกลาง ข้าวสังข์หยด ในภาคใต้ ข้าวกริ๊ปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้าวก่ำในภาคเหนือ นิยมบริโภคในรูปข้าวกล้อง ข้าวแดงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. ข้าวป่า เป็นวัชพืชที่รายแรงขึ้นปะปนกับข้าวปลูกในนา
ข้าวเปลือกมีสีฟางหรือ สีน้ำตาลดำ หางยาว เมล็ดมีขนาดเล็กและแข็ง 2. ข้าวแดงที่ใช้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวปลูกเพื่อจำหน่ายในตลาดให้ผู้บริโภค
เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวมันปู ข้าวแดงหอม ข้าวหอมกุหลาบแดง ข้าวแดงมี แป้ง ไขมัน
โปรตีน ฟอสฟอรัส เหล็ก ในปริมาณที่สูงมาก แต่มีปริมาณทองแดง วิตามินเอ (ข้าวแดงมันปูจะมีวิตามินเอสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น) วิตามินบี 2 วิตามินซี น้อยกว่าข้าวขาว เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น
เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด
พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง
ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน
เช่น ข้าวหอมแดง
ข้าวแดงไม่ไวต่อช่วงแสง (Non-photosensitive
red rice) คือ ข้าวกล้องพันธุ์ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง สีน้ำตาลแดง หรือสีแดงออกดำ เมื่อเอาเปลือกออก
เช่น ข้าวมันปูในภาคกลาง ข้าวสังข์หยด ในภาคใต้ ข้าวกริ๊ปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข้าวก่ำในภาคเหนือ นิยมบริโภคในรูปข้าวกล้อง ข้าวแดงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. ข้าวป่า เป็นวัชพืชที่รายแรงขึ้นปะปนกับข้าวปลูกในนา
ข้าวเปลือกมีสีฟางหรือ สีน้ำตาลดำ หางยาว เมล็ดมีขนาดเล็กและแข็ง 2. ข้าวแดงที่ใช้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวปลูกเพื่อจำหน่ายในตลาดให้ผู้บริโภค
เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวมันปู ข้าวแดงหอม ข้าวหอมกุหลาบแดง ข้าวแดงมี แป้ง ไขมัน
โปรตีน ฟอสฟอรัส เหล็ก ในปริมาณที่สูงมาก แต่มีปริมาณทองแดง วิตามินเอ (ข้าวแดงมันปูจะมีวิตามินเอสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น) วิตามินบี 2 วิตามินซี น้อยกว่าข้าวขาว เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น
เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด
พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง
ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน
เช่น ข้าวหอมกุหลาบแดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น