วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การเกี่ยวข้าว


ประเพณีหรือประวัติการเกี่ยวข้าว
เดือนสามเหนือตรงกับเดือนอ้ายภาคกลางโดยประมาณเดือนธันวาคมของปี ทางสุรยคติ ในช่วงระยะดังกล่าวข้าวกล้าในท้องทุ่งนาจะเริ่มสุกแก่ ชาวนาจะเริ่มเก็บเกี่ยวเพื่อนำมาเก็บไว้ในยุ้งฉางต่อไป และจะมีพิธีกรรมและความเชื่อต่าง ๆ ในการเก็บเกี่ยวข้าวในนา ซึ่งถือปฏิบัติกันมาทุกครัวเรือนอย่างเช่น
การแฮกนาเกี่ยวข้าว โดยชาวนาจะหาฤกษ์หาวันที่ดีก่อน เมื่อลดน้ำในนาให้แห้งคือผิวดินในท้องนาแห้งเพื่อจะได้เกี่ยวข้าวง่ายขึ้น เมื่อชาวนาหาฤกษ์ได้แล้วก็จะเตรียมเครื่องพลีกรรมบูชาแม่โพสบ เช่น แว่น หวี แป้ง น้ำมันทาผม เนื้อย่าง ปลาย่าง หมากเมี่ยงบูหรี่ ธูปเทียน ดอกไม้ของหอม โดยนำไปบูชาที่ค้างเต้า บริเวณมุมนาด้านใดด้านหนึ่ง เสร็จแล้วเจ้าของนาจะเกี่ยวข้าวเป็นพิธีเล็กน้อย หลังจากนั้นสองสามวันก็จะลงมือเกี่ยวข้าวจนหมดในเนื้อที่ของตน (บางแห่งการแฮกนาเกี่ยวข้าวชาวนาจะนำเอาข้าวปั้นกล้วย ลูกหมากมัดปูใบ นำไปแฮกข้าวในนาของตนแล้วเกี่ยวข้าวเป็นพิธี เชื่อว่าคงจะเป็นประเพณีอันเดียวกันแต่เป็นการลัดขั้นตอนลงมาบ้าง)
การเกี่ยวข้าว ชาวนาจะเริ่มเกี่ยวข้าวหลังจากทำพิธีแฮกข้าวแล้วสองสามวันก็จะเก็บเกี่ยว ข้าวในนาของตน เมื่อข้าวยังไม่แห้งพอจึงต้องเกี่ยวข้าวแล้วผึ่งแดดไว้
การฝัดข้าว เมื่อชาวนาเกี่ยวข้าวทิ้งไว้เพื่อผึ่งแดดให้แห้งที่เรียกว่าข้าวเพ่าทิ้งไว้ ประมาณสามถึงห้าแดดก็จะนำเอาข้าวเพ่ามารวมเข้าด้วยกันเป็นมัด ๆ การมัดข้าวต้องคำนึงถึงการนวดด้วย จะนวดข้าวโดยวิธีไหนก็จะมัดโดยวิธีการนั้น ๆ เช่น นวดโดยการตีข้าว ก็จะมัดข้าวให้โตขึ้น ถ้านวดโดยการฟาดข้าวก็จะมัดข้าวให้เล็กลง ซึ่งจะกล่าวในตอนนวดข้าวอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมัดข้าวเรียบร้อยแล้วก็จะนำไปรวมกันไว้เป็นกอง ๆ เรียกว่า กองข้าว (ก๋องข้าว) (บางพื้นที่พอมัดข้าวเสร็จก็จะนวดข้าวแล้วนำเก็บยุ้งฉางเลย) การกองข้าวหรือการรวบข้าวคือการนำเอาข้าวเพ่ามารวมเป็นกอง ๆ บางแห้งจะกองรวมกันไว้เป็นรูประฆังคว่ำ บางแห่งกองเป็นรูปต้าไอ, ตัวยู ตัวแอว แล้วต่ละบ้านจะทำกัน บางบ้านกองไว้บนคันนา
การขนข้าวมากอง เมื่อชาวนามัดข้าวเสร็จแล้วจะขนข้าวที่มัดแล้วนำมากองไว้เป็นรูปต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะทำกันหลายวิธี คือ
1.
การขนข้าวโดยใช้ผ้าขาวม้าพันแล้วนำมาทูนหัวขนไปรวมกองที่เตรียมไว้
2.
การหาบหลาง คือ การนำไม้ไผ่หนพอประมาณนำมาแหลมหัวท้ายแล้วนำมัดข้าวเสียบเข้าที่ปลายไม้ทั้ง 2 ข้าง แล้วหาบไปรวมกอง
3.
การหาบหมา คือ การนำกระบะสี่ขาคล้ายขาหมาแล้วนำข้าวรวมไว้บนกระบะแล้วหาบไปรวมกอง
4.
ตั้งแต่เริ่มมีการเกี่ยวข้าว มัดข้าว นวดข้าว ทางภาคเหนือก็มีการลงแขกกันแต่ทางภาคเหนือเรียกว่า การเอามือ, เอามื้อ เป็นการไปตอบส้ายกันเก็บเกี่ยวข้าว
การนวดข้าว คือ การนวดข้าวเป็นการทำให้เมล็ดข้าวหลุดออกจากรวงข้าว ทางภาคเหนือเรียกหลายอย่าง เช่น การบุบข้าว การตีข้าว การฟาดข้าว
การบุบข้าว คือ การนำเอาข้าวเพ่ามารวมกันมัดข้าวจะโตรยมกันสองสามวันมัดแล้วใช้ไม้คล้าย ตะเกียบมีเชือกผูกปลายไม้รวมมัดข้าวเข้าด้วยกันแล้วตีกับไม้หนา ๆ ให้ในตารางข้าว
การตีข้าว เป็นการนำเอาข้าวมาตีในแอ่งหรือ คุซึ่งสานด้วยผิวไม้ไผ่
การฟาดข้าว เป็นการนำเอาข้าวเพ่ามัดเล็ก ๆ มาฟากกับไม้หนาในตารางจะฟาดด้วยมือกำข้าวมัดพอประมาณ
การตีข้าวในตาราง ตารางคือ การที่ชาวนานำข้าวมากองรวมกันไว้จะเป็นรูปอะไรก็แล้วแต่เขาจะใช้จอบ เสียบ หรือตัด ต้นข้าวในนานั้นทิ้ง แล้วปรับพื้นดินให้เรียบแล้วผสมขี้ควายกับน้ำละเลงลงในพื้นดินที่ปรับ แล้วทิ้งไว้ให้แห้ง ปัจจุบันไม่ค่อยนิยม ส่วนมากจะใช้วัสดุรองพื้น เช่น สาด กะลา (เสื่อที่ทำด้วยไม้ไผ่) ผ้าพลาสติก เป็นต้น จากนั้นก็ขนข้าวเข้ายุ้งฉางต่อไป




เมล็ดพันธุ์ข้าว


      พันธุ์ข้าว เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรก ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต ถ้าหากว่ามีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพปานกลาง ข้าวคุณภาพต่ำ และข้าวคุณภาพพิเศษ ที่ตรงกับความต้องการของตลาดและเพื่อทำผลิตภัณฑ์มีความต้านทานต่อโรคแมลง และมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นแล้วจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน การผลิตข้าวหรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดี


ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง (Photosensitive lowland rice) ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ปลูกได้ทั้งวิธีปักดำหรือหว่าน มี 2 ประเภทคือ ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น กข12  กข13  กข15  กข16  ขาวดอกมะลิ105

ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง (Non-photosensitive lowland rice) ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ปลูกได้ทั้งวิธีปักดำหรือหว่าน มี 2 ประเภทคือ ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน เป็น พันธุ์ข้าวที่ช่วงแสงไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างช่อดอก ข้าวชนิดนี้จะออกดอกตามอายุของแต่ละพันธุ์ค่อนข้างแน่นอน ไม่ว่าจะปลูกในช่วงวันยาวหรือวันสี้นก็ตาม อายุข้าวอาจแตกต่างกันไปบ้างตามวิธีการจัดการในนาข้าว เช่น การให้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูงจะทำให้อายุข้าวยาวขึ้นได้ เช่น กข1กข10 กข11 ชัยนาท1

ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง (Photosensitive floating rice) ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขัง มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ปลูกโดยการหว่านเมล็ดลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำคือ มีความสามารถในการยืดปล้องให้ยาวออกไปเพื่อหนีน้ำท่วม (Internode Elongation Ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน (Upper Nodal Tillering and Rooting Ability) ความสามารถอยู่รอดในสภาพจมน้ำ (Submergence Tolerance Ability) และการชูรวงให้ตั้งชันเหนือผิวน้ำ (Kneeing Ability) ได้ ดีตามการเพิ่มของระดับน้ำในนา เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น ขาวบ้านนา432

ข้าวนาน้ำลึกไวต่อช่วงแสง (Photosensitive deep-water rice) ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร และน้ำท่วมขังในแปลงนาอย่างน้อย 1 เดือน ลักษณะประจำพันธุ์ที่สำคัญของข้าวชนิดนี้คือ ความสามารถทนน้ำท่วมหรือจมอยู่ใต้น้ำได้อย่างน้อย 7-10 วัน หลังจากน้ำลดแล้วสามารถฟื้นตัวได้ดี พัฒนาการเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยวได้ตามปกติ เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน
เช่น กข45

ข้าวนาน้ำลึกไม่ไวต่อช่วงแสง (Non-photosensitive deep-water rice) ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร และน้ำท่วมขังในแปลงนาอย่างน้อย 1 เดือน ลักษณะประจำพันธุ์ที่สำคัญของข้าวชนิดนี้คือ ความสามารถทนน้ำท่วมหรือจมอยู่ใต้น้ำได้อย่างน้อย 7-10 วัน หลังจากน้ำลดแล้วสามารถฟื้นตัวได้ดี พัฒนาการเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยวได้ตามปกติ เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น กข17

ข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง (Photosensitive upland rice) ข้าว ที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ ปลูกโดยวิธีหยอดเมล็ด โดยอาศันน้ำฝน และน้ำค้างเป็นหลัก มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น แตกกอน้อย ระบบรากลึกและขนาดรากใหญ่ เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น กู้เมืองหลวง

ข้าวไร่ไม่ไวต่อช่วงแสง (Non-photosensitive upland rice) ข้าว ที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ ปลูกโดยวิธีหยอดเมล็ด โดยอาศันน้ำฝน และน้ำค้างเป็นหลัก มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น แตกกอน้อย ระบบรากลึกและขนาดรากใหญ่ เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น อาร์ 258
ข้าวแดงไวต่อช่วงแสง (Photosensitive red rice)  คือ ข้าวกล้องพันธุ์ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง สีน้ำตาลแดง หรือสีแดงออกดำ เมื่อเอาเปลือกออก เช่น ข้าวมันปูในภาคกลาง ข้าวสังข์หยด ในภาคใต้ ข้าวกริ๊ปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้าวก่ำในภาคเหนือ นิยมบริโภคในรูปข้าวกล้อง ข้าวแดงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. ข้าวป่า เป็นวัชพืชที่รายแรงขึ้นปะปนกับข้าวปลูกในนา ข้าวเปลือกมีสีฟางหรือ สีน้ำตาลดำ หางยาว เมล็ดมีขนาดเล็กและแข็ง 2. ข้าวแดงที่ใช้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวปลูกเพื่อจำหน่ายในตลาดให้ผู้บริโภค เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวมันปู ข้าวแดงหอม ข้าวหอมกุหลาบแดง ข้าวแดงมี แป้ง ไขมัน โปรตีน ฟอสฟอรัส เหล็ก ในปริมาณที่สูงมาก แต่มีปริมาณทองแดง วิตามินเอ (ข้าวแดงมันปูจะมีวิตามินเอสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น) วิตามินบี 2 วิตามินซี น้อยกว่าข้าวขาว เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น  ข้าวหอมแดง

ข้าวแดงไม่ไวต่อช่วงแสง (Non-photosensitive red rice)  คือ ข้าวกล้องพันธุ์ที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง สีน้ำตาลแดง หรือสีแดงออกดำ เมื่อเอาเปลือกออก เช่น ข้าวมันปูในภาคกลาง ข้าวสังข์หยด ในภาคใต้ ข้าวกริ๊ปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้าวก่ำในภาคเหนือ นิยมบริโภคในรูปข้าวกล้อง ข้าวแดงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. ข้าวป่า เป็นวัชพืชที่รายแรงขึ้นปะปนกับข้าวปลูกในนา ข้าวเปลือกมีสีฟางหรือ สีน้ำตาลดำ หางยาว เมล็ดมีขนาดเล็กและแข็ง 2. ข้าวแดงที่ใช้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวปลูกเพื่อจำหน่ายในตลาดให้ผู้บริโภค เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวมันปู ข้าวแดงหอม ข้าวหอมกุหลาบแดง ข้าวแดงมี แป้ง ไขมัน โปรตีน ฟอสฟอรัส เหล็ก ในปริมาณที่สูงมาก แต่มีปริมาณทองแดง วิตามินเอ (ข้าวแดงมันปูจะมีวิตามินเอสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น) วิตามินบี 2 วิตามินซี น้อยกว่าข้าวขาว เป็นพันธุ์ข้าวที่ต้องการช่วงแสงหรือช่วงระยะเวลากลางวันสั้น เพื่อเปลี่ยนการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ มาเป็นการเจริญทางสืบพันธุ์เพื่อสร้างช่อดอกและเมล็ด พันธุ์ข้าวชนิดนี้จะกำเนิดช่อดอกเมื่อมีช่วงแสงสั้นกว่า 12 ชั่วโมง ความต้องการช่วงแสงของข้าวแต่ละพันธุ์จะแตกต่างกัน จึงทำให้พันธุ์ข้าวออกดอกไม่พร้อมกัน เช่น ข้าวหอมกุหลาบแดง


วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การจัดการกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อนาข้าว



วิธีการจัดการกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต

ดิน

    การจัดการดินเปรี้ยว จัดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว วิธีการที่สะดวก ปฎิบิติได้ง่ายและได้ผลรวดเร็วคือการใช้วัสดุปูนทางการเกษตรเช่น ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินฝุ่นปรับปรุงดิน โดยนำวัสดุปูนอัตราที่เหมาะสมไปหว่านให้ทั่วพื้นที่นา ไถคลุกเคล้ากับดิน หมักไว้อย่างน้อย7วัน ในสภาพดินชื้น ดินเปรี้ยวจัด จะมีสภาพดีขึ้น ความเป็นกรดจะลดลง (ความเป็นกรด เป็นด่าง ของดินสูง อยู่ในช่วง 5.5-5.6)ปริมาณปูนที่เหมาะสมและแนะนำให้ใช้ สำหรับนาข้าว แบ่งเป็น3ระดับ คือ

-ดินเปรี้ยวกรดที่เป็นกรดรุนแรงน้อย(PH 4.5-5.0)ใส่ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินฝุ่น อัตรา500กิโลกรัมต่อไร่

-ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงปานกลาง(PH4.0-4.5)ใส่ปูนมาร์ล หินปูนบดหรือหินฝุ่นอัตรา1,000กิโลกรัมต่อไร่

-ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงมาก(PHต่ำกว่า4.0)ใส่ปูนมาร์ล หินปูนบด หรือหินฝุ่น อัตรา1,000-1,500กิโลกรัมต่อไร่



ปริมาณน้ำ

   หากปริมาณน้ำที่เรารับมาจากระบบชลประทานไม่เพียงพอ หรือปริมาณฝนไม่ตกตามฤดูกาลนั้น เราก็ควรจัดทำบ่อน้ำไว้เพื่อกักเก็บน้ำในเวลาที่เกิดปัญหาเช่นนี้



แสงอาทิตย์

   ปริมาณแสงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตโดยที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงถ้าเกิดบริเวณที่เราปลูกข้าวนั้นพบว่ามีหญ้ารกขึ้นเยอะเกินไปหรือมีต้นไม้บังต้นข้าวของเราก็ควรกำจัดทิ้งได้


ศัตรูพืช
1. ก่อนปลูกพืช

1.1 ในกรณีที่ปลูกพืชด้วยเมล็ดพันธุ์ ควรใช้เมล็ดพันธุ์ที่ปราศจากศัตรูพืช เช่น โรค แมลงและวัชพืช โดยกรรมวิธีดังนี้

-  แช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 - 55C นาน 10-30 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของเมล็ดพันธุ์เพื่อกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่ติด มากับเมล็ด

-  คลุกเมล็ดด้วยเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อราไตรโคเดอม่า, เชื้อแบคทีเรีย Bacillus subtilis (Bs) ขึ้นอยู่กับชนิดเมล็ดพืชและเชื้อสาเหตุของโรค

-  ใช้พันธุ์ต้านทานโรค แมลงและ/หรือวัชพืช

1.2 การเตรียมแปลงเพาะกล้า

-  อบดินด้วยไอน้ำ

-  คลุกดินด้วยเชื้อราปฏิปักษ์ เพื่อควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคในระยะต้นกล้า

1.3 การเตรียมแปลงปลูก

-  ไถพรวนและตากดิน 1-2 สัปดาห์ ในเมล็ดวัชพืชงอกแล้วไถกลบซ้ำอีกครั้งหนึ่ง

-  ใช้พลาสติกใสที่ไม่ย่อยสลายคลุมแปลง ปลูกเพื่อกำจัดศัตรูพืชในดินโดยใช้แสงแดด

-  ใช้ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาวที่ได้จากธรรมชาติเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

-  ใช้น้ำขังท่วมแปลงเพื่อควบคุมโรคและแมลงที่อาศัยอยู่ในดิน

-  ตากดินให้แห้งเพื่อกำจัดแมลงในดิน

-  ใส่เชื้อราปฏิปักษ์ เช่น ไตรโคเดอม่า ลงในดินสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อราบางชนิด



2. ระยะที่พืชกำลังเจริญเติบโต

2.1 การควบคุมโรค เมื่อมีการระบาดของโรคให้ปฏิบัติดังนี้

-  โรยเชื้อราปฏิปักษ์รอบโคนต้น

-  เก็บชิ้นส่วนของพืชที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูกและนำไปเผาทำลาย

-  ใช้เชื้อแบคทีเรีย Bsพ่นหรือทาแผลที่ต้นพืช

สารที่อนุญาตให้ใช้ควบคุมโรค ได้แก่

-  กำมะถัน

-  บอร์โดมิกซเจอร์

-  พืชสมุนไพรและสารสกัดจากสมุนไพร

-  คอปเปอร์ซัลเฟต

-  คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์

-  คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ง

2.2 การควบคุมแมลง

- สำรวจแมลงและศัตรูพืชอื่น ๆ ในแปลงปลูก

- หากพบแมลงศัตรูพืชให้ปฏิบัติดังนี้

*กรณีแมลงศัตรูพืชมีจำนวนน้อย ให้ใช้วิธีการควบคุมทางชีวภาพ ได้แก่

-  พืชหรือสารสกัดจากพืชสมุนพี เช่น ดาวเรือง ว่านน้ำ พริก สาบเสือ ฯลฯ

-  สารโรตีโนนจากหางไหลแดง

-  สารสกัดจากสะเดา

-  สารไพเรทรินจากธรรมชาติ

-  ใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น

-  เชื้อไวรัสNPV

-  เชื้อแบคทีเรีย Bt

-  เชื้อรา เช่น เชื้อราเมตาไลเซี่ยม

-  ใช้ตัวห้ำตัวเบียน

-  ใช้น้ำสบู่ หรือ น้ำ

-  ใช้สารทำหมันแมลง

-  ใช้กับดักกาวเหนียว กรณีแมลงศัตรูพืชระบาด

-  ใช้กับดักกาวเหนียว/กับดักแสงไฟ เพื่อลดปริมาณแมลง

-  ใช้ white oil/ mineral oil ที่ได้จากธรรมชาติ

2.3 การควบคุมวัชพืช

-  ควรกำจัดวัชพืชในระยะก่อนออกดอกหรือติดเมล็ด เพื่อลดปริมาณเมล็ดวัชพืชที่สะสมในดินฤดูต่อไป

-  ใช้วิธีทางกายภาพ เช่น การถอน การขุด การตัด ฯลฯ

-  ใช้น้ำร้อน/ไอน้ำร้อน

-  ปลูกพืชตระกุลถั่วคลุมดิน

-  คลุมดินด้วยพลาสติกทึบแสงที่ไม่ย่อยสลาย

-  ใช้สารสกัดจากพืช

-  ใช้ชีววิธี เช่น แมลง สัตว์ หรือ จุลินทรีย์